ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ คือ อะไร? ต้นตอพวงมาลัยหนัก และ ข้อควรระวังในการใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์


View 12856 June 17, 2018 เขียนโดย: Admin_ANY

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ (Power steering system) คืออะไร

ระบบที่เข้ามาช่วยทดกำลังการหมุนพวงมาลัย ไปในทิศทางต่างๆ ให้เบาลง โดยลดการใช้กำลังลง เพื่อประโยชน์ในการหักเลี้ยวในพื้นที่แคบ ๆและความสะดวกสบายในการขับขี่  ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ในปัจจุบันยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) ระบบนี้จะใช้ ปั๊มไฮดรอลิกสร้างกำลังส่งไป กระปุกพวงมาลัยเพาเวอร์ หรือ แร็กพวงมาลัย เพื่อช่วยผ่อนแรงผู้ขับยามหักเลี้ยว โดยใช้แรงจากเครื่องยนต์หมุนผ่านสายพานมายังที่ ปั๊มไฮดรอลิก (ปั๊มเพาเวอร์) ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบนี้ เช่น รถกระบะอีซูซุ มังกร TFR (รุ่นที่ใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์) รถกระบะ โตโยต้า ไมตี้ ไทเกอร์ วีโก้ เป็นต้น

ข้อดี 

  • พวงมาลัยมีความแม่นยำสูง สร้างความมั่นใจในยามเข้าโค้ง

ข้อเสีย

  • เมื่อซีลท่อทางชำรุดย่อมทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำมันเนื่องด้วยระบบใช้น้ำมันในการถ่ายทอดกำลัง

2. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) ระบบนี้จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างกำลังช่วนผ่อนแรง กล่าวคือเมื่อผู้ขับขี่หักพวงมาลัยจะมีเซ็นเซอร์ ตรวจจับก่อนส่งให้กล่องควบคุมสั่งการให้มอเตอร์ทำงาน ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบนี้ เช่น รถเก๋ง โตโยต้า แอลติส ALTIS ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นไป

ข้อดี 

  • ของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า คือเมื่อใช้ความเร็วต่ำ พวงมาลัยจะเบามาก แต่เมื่อใช้ความเร็วสูงกล่องควบคุมจะสั่งการให้พวงมาลัยหนักขึ้นเพื่อความปลอดภัยตามความเหมาะสมในช่วงความเร็วนั้น ๆ

  • ตัดปัญหาการรั่วซึมในระบบเพราะใช้มอเตอร์

ข้อเสีย 

  • มีระยะฟรีและความแม่นยำน้อยกว่า ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก

 

จุดสังเกตต้นตอพวงมาลัยหนัก!!!

1. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering)

  • อาจจะเกิดจากระดับน้ำมันต่ำเกินไป เช็คเติมให้อยู่ในระดับปกติและหมั่นตรวจสอบเสมอ

  • น้ำมันรั่วซึม ส่งผลให้น้ำมันไม่พอในระบบทำให้พวงมาลัยหนัก

  • แก้ไขหาจุดรั่ว เติมน้ำมันพวงมาลัย ตัวปั๊มไฮดรอลิก เสีย แก้ไขตรวจสอบซ่อมแซมภายใน หรือเปลี่ยนใหม่

2. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering)

  • มอเตอร์ชำรุดพัง ดูได้ที่ไฟเตือนจะเป็นรูปพวงมาลัยบนหน้าปัดไมล์ เข้าศูนย์

  • ชิ้นส่วนในระบบบังคับเลี้ยว ต่างๆชำรุด

  • ลมอ่อน รถไม่ได้ตั้งศูนย์ ตั้งศูนย์ไม่ดี ก็ทำให้พวงมาลัยหนักได้เช่นกัน

 

ข้อควรระวังในการใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์

  • อย่าหมุนพวงมาลัยไปทางขวา หรือ ซ้ายสุดค้างไว้นานๆ !!! เนื่องจากจะทำให้น้ำมันเพาเวอร์มีความร้อนและแรงดันสูง จนอาจทำให้ระบบของพวงมาลัยเกิดความเสียหายได้ถ้าหมุนไปจนสุดแล้วก็ควรคืนพวงมาลัยลงมานิดหน่อย เพื่อลดการทำงานของมอเตอร์ หรือแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ

  • อย่าพยายามหมุนพวงมาลัยเพื่อปีนข้ามฟุตปาธหรือขอบทาง !!! เพราะทำให้มอเตอร์ทำงานหนักเกิดความร้อนสูงจนมอเตอร์ไหม้ได้ หรือทำให้ท่อน้ำมันเพาเวอร์รั่ว เนื่องจากปั๊มต้องสร้างแรงดันสูงมากกว่าปกติขณะเลี้ยวข้ามสิ่งกีดขวาง วิธีลดความเสี่ยงนั้นควรให้รถได้เคลื่อนที่เล็กน้อยก่อน แล้วค่อยหมุนพวงมาลัยเพื่อช่วยลดความฝืดระหว่างยางกับถนน รวมทั้งช่วยลดการทำงานของระบบเพาเวอร์ อย่างไรก็ดีภายหลังจอดรถเสร็จแล้ว ควรหมุนพวงมาลัยให้ล้อตั้งตรง 

Cr: 
https://www.dailynews.co.th/article/363448
http://www.toyotanont.com/article_detail.php?article_id=471


FACEBOOK

หมวดหมู่

อ่านบทความย้อนหลัง