บทความ

เฟืองท้าย คืออะไร? 5 สาระหน้ารู้: ส่วนประกอบ อัตราทดเฟืองท้าย เฟืองเต็ด การทดรอบ และ การดูแลรักษา

View 23673 September 08, 2019 เขียนโดย: Admin_ANY
เฟืองท้าย คือ อะไร เฟืองท้าย (Differential) อะไหล่ช่วงล่างชิ้นส่วนสำคัญของรถขับเคลื่อนล้อหลัง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรถกระบะ รถบรรทุกขนาดกลางไปจนถึงใหญ่ หน้าที่หลัก คือ ส่งกำลังที่ได้จากเกียร์ส่งให้กับไปยังเพลาขับของล้อทั้ง 2 ข้างทำงานในความเร็วรอบที่แตกต่างกัน และ ทำให้เกิดการหมุนที่สมดุลกันโดยลดอัตราทดเฟืองในขณะเลี้ยว ผ่านการทำงานความเร็วรอบของเพลากลางโดยจะหมุนช้าลงจนเหมาะสมกับขนาดของล้อรถยนต์นั้นๆ จะเห็นได้ว่าเฟืองท้ายนั้นเป็นตัวกลางระหว่างเกียร์ เพลา จนไปจบที่การทำงานขับเคลื่อนของล้อรถยนต์ วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 สาระหน้ารู้ เกี่ยวกับ "เฟืองท้าย (Differential)" มาฝากกัน 1. ส่วนประกอบของเฟืองท้าย ส่วนประกอบหลักของเฟืองท้ายมี 3 ส่วนดังนี้ 1) เฟืองขับ หรือ ภาษาช่างที่เรียกกันว่า “เฟืองเดือยหมู” (Drive Pinion Gear) มีลักษณะเป็นเฟืองเกลียวโดยจำนวนฟันน้อยกว่าเฟืองบายศรีเสมอ ที่พบกันส่วนมากในรถกระบะ จะมีขนาด ตั้งแต่ 8 จนถึง 13 ฟัน ทำหน้าที่รับแรงบิดมาจากเพลากลางและส่งต่อไปยังเฟืองบายศรี เฟืองเดือยหมูจะติดตั้งอยู่ในเฟืองท้าย 2) เฟืองวงแหวน หรือ ภาษาช่างที่เรียกกันว่า “เฟืองบายศรี" (Ring Gear) มีลักษณะเป็นวงแหวน จำนวนฟันของเฟืองบายศรีส่วนมากในรถกระบะ จะมีขนาดระหว่าง 35 ถึง 43 ฟัน จำนวนฟันที่มากกว่าของเฟืองบายศรีทำให้การหมุนช้ากว่าเฟืองเดือยหมู ส่งผลให้เป็นลดอัตราทดของกระปุกเกียร์ โดยหน้าที่หลัก คือ การส่งแรงบิดจากเฟืองเดือยหมูไปยัง เฟืองดอกจอก 3) เฟืองเพลาท้ายหรือเฟืองเพลาข้าง (Rear Axle Gear) ทำหน้าที่ปรับความเร็วของ ล้อรถยนต์ ในขณะที่รถยนต์เคลื่อนที่ในทางตรงหรือขณะเลี้ยวโค้ง จะมีเฟืองดอกจอกเล็ก 2 ตัว และเฟืองเพลาข้าง 2 ตัว 2. วิธีการคำนวณอัตราทดเฟืองท้าย อัตราทดเฟืองท้ายคำนวณจาก จำนวนฟันของเฟือเฟืองบายศรี (หมายเลข 1 ในภาพ) หารด้วย จำนวนฟันของเฟืองเดือยหมู (หมายเลข 2 ในภาพ)  ส่วนความหมายของอัตราทดนั้นสามารถตีความได้ ดังจะยกตัวอย่าง อัตราทด 4.1 ของเฟืองท้าย หมายความว่า อัตราทดของเฟืองท้ายที่มีขนาด 4.1:1 นั่นคือ เฟืองในขณะที่เฟืองเดือยหมู หมุนส่งกำลังไป 4.1 รอบ เฟืองตามจะหมุนส่งกำลังไปจำนวนทั้งหมด 1 รอบ 3. เฟืองดอกจอกเต็ด (Limited Slip Differential) เฟืองดอกจอกเต็ด หรือ ที่เรามักเรียกกันว่า “เต็ด” ติดตั้งอยู่ในเฟืองท้ายลูกหลังของรถขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยจะทำให้การขับเคลื่อนรถยนต์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น กล่าวง่ายๆ คือ “ไม่ลื่น ไม่ฟรี ยึดติดถนน พร้อมลุย!!” หลักการทำงานของเต็ดนั้นจะล็อคเพลาขับทั้งสองข้าง ให้เพลาข้างหมุนด้วยรอบความเร็วที่เท่ากัน โดยอาศัยการจับหมุนของแรงจากชุดคลัทช์ที่ไปจับติดกับเสื้อดอกจอก ระบบการทำงานนี้จะช่วยให้ล้อมีกำลังถึงแม้ว่าจะมีล้อฟรีข้างหนึ่ง เมื่อรถติดหล่ม หรือตกหลุมโคลน เราจึงมักพบเห็นผู้ขับรถนิยมใช้รถกระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ ไปลุยป่า ผจญภัย หรือ ใช้ขึ้นเขา 4. การทดรอบเฟืองท้าย 1) “ลด”อัตราทด เช่น อัตราทดเฟืองท้ายของรถวีโก้เครื่องยนต์ 2500 ลดจาก 4.1 เป็น 3.5 เหมาะกับผู้ใช้รถที่กำลังเครื่องยนต์เหลือ เนื่องจากเปลี่ยนเครื่องยนต์ หรือ ทดเฟืองเกียร์ โดยต้องการปลายไหลเพิ่มขึ้นเมื่อเปลี่ยนเกียร์สูง รถที่ต้องการความเร็วสูงหรือรถเดินทางไกล 2) "เพิ่ม”อัตราทด เช่น อัตราทดเฟืองท้ายของรถวีโก้เครื่องยนต์ 2500 เพิ่มจาก 4.1 เป็น 4.5 เหมาะกับผู้ใช้รถที่ต้องการให้ต้นออกตัวดีขึ้น, รถที่ต้องขึ้นเขาบรรทุกของหนัก หรือรถที่เปลี่ยนจากเกียร์ธรรมดาเป็นเกียร์ออโต้แล้วออกตัวไม่ดี 5. การดูแลรักษาเฟืองท้าย 1) เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายให้ตรงเวลา โดยทั่วไประยะที่แนะนำให้เปลี่ยน คือ ทุกๆ 40,000 กิโลเมตร  2) อย่าออกตัวกระชากรถบ่อย เพราะจะทำให้ฟันเฟืองท้ายเสียหายได้ จนทำให้เกิดอาการหอน ดัง  3) อย่าปล่อยให้ความชื้นหรือน้ำเข้าไปภายในเฟืองท้าย หากเกิดกรณีที่รถยนต์ต้องไปขับฝ่าน้ำขัง หรือ น้ำท่วมในระดับที่น้ำสามารถเข้าไปในเฟืองท้ายได้ แนะนำให้รีบเช็คระดับน้ำมันเฟืองท้าย และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้าย จะเห็นได้ว่าเฟืองท้ายนั้น มีความสำคัญอย่างมากในระบบขับเคลื่อนรถยนต์ ผู้ใช้รถควรเลือกรูปแบบเฟืองท้ายและอัตราทดที่เหมาะสมกับลักษณะการงานของใช้รถยนต์ รวมไปถึงกำลังของเครื่องยนต์ นอกจากนั้น ยังควรดูแลรักษาเฟืองท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหมั่นตรวจเช็คระดับและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายให้ตรงเวลาเพื่อยืดอายุการใช้งานของเฟืองท้ายให้ดียิ่งขึ้น

อะไหล่เชียงกง คือ อะไร? แล้วทำไมถึงต้องเชียงกง?

View 17718 July 20, 2018 เขียนโดย: Admin_ANY
อะไหล่เชียงกง คือ อะไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้าง กับคำว่า “อะไหล่เชียงกง” แล้วคิดว่าอะไหล่เชียงกง มันคืออะไรกัน ชื่ออะไหล่รถยี่ห้อเชียงกง? หรือชื่อสถานที่? บอกตรงนี้เลยนะว่าไม่ใช่ทั้งสองอย่าง เอ้า! ถ้าอย่างงั้นมันคืออะไรกันล่ะเนี่ย เดี๋ยววันนี้เราจะมาช่วย หาคำตอบแบบให้หายสงสัยกัน อะไหล่เชียงกง คือ อะไหล่รถยนต์มือสองนั่นเอง ส่วนมากจะเป็นชิ้นส่วนนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าที่ญี่ปุ่นมีการเก็บภาษีรถเก่าที่แพงมาก เรียกได้ว่ายิ่งเก่ายิ่งต้องจ่ายหนัก ส่วนราคารถใหม่ป้ายแดงบ้านเขาก็ไม่สูง เพราะอย่างนั้นคนญี่ปุ่นเขาเลยเปลี่ยนรถกันบ่อยกว่าบ้านเรา หรือเวลาที่ต้องซ่อมรถที่นู่นเขาก็คิดค่าซ่อมกันแพงลิ่ว แบบว่าซื้อรถคันใหม่คุ้มกว่าเยอะ ดังนั้นอะไหล่รถคุณภาพดี ที่ยังมีประสิทธิภาพเลยเหลือทิ้งกันบาน ทีนี้คนไทยเลยขออาสารับช่วงต่อ โดยการนำเข้าอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่น หรือบางทีก็อาจจะเอามาทั้งคันแล้วมาแยกชิ้นส่วน คัดเอาเฉพาะอะไหล่เครื่องยนต์และช่วงล่างที่ยังใช้การได้ดีมีสภาพเยี่ยม มาใช้กับรถในบ้านเรา โดยในปัจจุบันอะไหล่เชียงกง นอกจากมีทั้งอะไหล่นำเข้าจากญี่ปุ่นแล้ว ยังมีอะไหล่รถยนต์จากรถที่ใช้งานน้อยในประเทศไทย ซึ่งสภาพการใช้งานของอะไหล่รถหลายๆส่วนยังดีเยี่ยมอยู่มารื้อเป็นชิ้นส่วนอะไหล่แยกขาย ดังนั้นผู้ซื้อจึงสามารถมั่นใจในคุณภาพของอะไหล่เชียงกงได้เพราะไม่เพียงแต่ราคาถูกกว่าไปซื้ออะไหล่ใหม่จากศูนย์เป็นอย่างมาก แต่ยังมั่นใจในคุณภาพมากกว่าอะไหล่เทียมอีกด้วย ทำไมถึงต้องเชียงกง? มาถึงคำถามที่ทุกคนคงอยากรู้กันว่าชื่อ “เชียงกง” มาได้อย่างไร สำหรับคำตอบของคำถามนี้คงต้องท้าวความไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยนั้นคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่บริเวณตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ พวกเขาเริ่มจากการเอาจักรยานเก่ามาดัดแปลง ไม่ก็แยกชิ้นส่วนขาย ต่อมาหลังช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มรับซื้อรถที่ปลดประจำการของพวกทหารมาทำบ้าง ปรากฏว่าขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จนเริ่มมีการนำเข้าอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นเข้ามา ซึ่งย่านนี้เขาเรียกกันว่า “เชียงกง” ตามชื่อศาลเจ้าเชียงกง ที่ตั้งอยู่ ถนนทรงวาด ตลาดน้อย ซึ่ง พอกิจการการขายอะไหล่รถมือสองของที่นี้โด่งดังมีชื่อเสียงมาก คนก็นิยมพูดกันว่า “ไปซื้ออะไหล่ที่เชียงกง” ไปๆ มาๆ ก็เหลือแต่คำว่า “อะไหล่เชียงกง” จนเป็นที่รู้กันในวงกว้างว่าถ้าพูดว่าไปซื้ออะไหล่เชียงกงเมื่อไหร่ก็หมายความว่าไปซื้ออะไหล่รถยนต์มือสองนั่นเอง โดยสรุปแล้ว ย่านเชียงกงดั้งเดิมที่แรก คือ เชียงกง ตลาดน้อย ย่านเยาวราช ใจกลางเมืองกรุงเทพ ซึ่งเชื่อว่าหลายคนเข้าใจผิดว่าเชียงกงปทุมวัน คือ แหล่งกำเนิดศูนย์รวมอะไหล่รถยนต์มือสอง เนื่องจากเป็นแหล่งเชียงกงที่คุ้นหูกันมากที่สุดในประเทศไทย แต่ปัจจุบัน ร้านในย่านปทุมวันได้ย้ายออกไปย่านอื่นๆ เพราะพื้นที่ถูกเวนคืน ส่วนชื่อย่านเชียงกงอื่นๆ อีกหลายที่ เช่น เชียงกงบางนา เชียงกงรังสิต เชียงกงหลักสี่ เชียงกงวังน้อย ก็เป็นการหยิบยกเอาชื่อเชียงกงที่คุ้นหูไปใช้ตั้งชื่อย่านขายอะไหล่รถมือสอง ที่ขยับขยายกิจการจากรุ่นสู่รุ่นของคนไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง ร้านอำนวยยนต์ ตั้งอยู่ที่ ตลาดน้อย ถิ่นกำเนิดเชียงกง เฮียของเรามีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ใครที่อยากได้อะไหล่รถมือสองสภาพดีแท้จากญี่ปุ่นก็แวะมาดูกันได้ เรามีขายทั้ง อะไหล่เครื่องยนต์ อะไหล่ช่วงล่าง เกียร์ และ อไหล่เกียร์ มือสองเก่าแท้ และ มือหนึ่งเทียบ ที่สำคัญอะไหล่มีการรับประกันทุกชิ้น หรือถ้าอยู่ไกลเดินทางลำบาก ร้านอำนวยยนต์ของเรามีหน้าเว็บไว้บริการ มีบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย ลูกค้าสามารถเข้าไปรับชมอะไหล่กันได้ตามสบายที่ อะไหล่ทั้งหมด หรือ ติดต่อกับเราโดยตรงผ่านทาง FACEBOOK หรือ LINE@ ครบเครื่องสุดๆ ถ้าใครอยากได้อะไหล่รถยนต์ที่มีคุณภาพจากเชียงกงแหล่งดั้งเดิม อย่าลืมนึกถึงเรา ANY อำนวยยนต์!!

ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ คือ อะไร? ต้นตอพวงมาลัยหนัก และ ข้อควรระวังในการใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์

View 12639 June 17, 2018 เขียนโดย: Admin_ANY
ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ (Power steering system) คืออะไร ระบบที่เข้ามาช่วยทดกำลังการหมุนพวงมาลัย ไปในทิศทางต่างๆ ให้เบาลง โดยลดการใช้กำลังลง เพื่อประโยชน์ในการหักเลี้ยวในพื้นที่แคบ ๆและความสะดวกสบายในการขับขี่  ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ในปัจจุบันยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) ระบบนี้จะใช้ ปั๊มไฮดรอลิกสร้างกำลังส่งไป กระปุกพวงมาลัยเพาเวอร์ หรือ แร็กพวงมาลัย เพื่อช่วยผ่อนแรงผู้ขับยามหักเลี้ยว โดยใช้แรงจากเครื่องยนต์หมุนผ่านสายพานมายังที่ ปั๊มไฮดรอลิก (ปั๊มเพาเวอร์) ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบนี้ เช่น รถกระบะอีซูซุ มังกร TFR (รุ่นที่ใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์) รถกระบะ โตโยต้า ไมตี้ ไทเกอร์ วีโก้ เป็นต้น ข้อดี  พวงมาลัยมีความแม่นยำสูง สร้างความมั่นใจในยามเข้าโค้ง ข้อเสีย เมื่อซีลท่อทางชำรุดย่อมทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำมันเนื่องด้วยระบบใช้น้ำมันในการถ่ายทอดกำลัง 2. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) ระบบนี้จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวสร้างกำลังช่วนผ่อนแรง กล่าวคือเมื่อผู้ขับขี่หักพวงมาลัยจะมีเซ็นเซอร์ ตรวจจับก่อนส่งให้กล่องควบคุมสั่งการให้มอเตอร์ทำงาน ตัวอย่างรถยนต์ที่ใช้ระบบนี้ เช่น รถเก๋ง โตโยต้า แอลติส ALTIS ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นไป ข้อดี  ของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า คือเมื่อใช้ความเร็วต่ำ พวงมาลัยจะเบามาก แต่เมื่อใช้ความเร็วสูงกล่องควบคุมจะสั่งการให้พวงมาลัยหนักขึ้นเพื่อความปลอดภัยตามความเหมาะสมในช่วงความเร็วนั้น ๆ ตัดปัญหาการรั่วซึมในระบบเพราะใช้มอเตอร์ ข้อเสีย  มีระยะฟรีและความแม่นยำน้อยกว่า ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก   จุดสังเกตต้นตอพวงมาลัยหนัก!!! 1. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Power Steering) อาจจะเกิดจากระดับน้ำมันต่ำเกินไป เช็คเติมให้อยู่ในระดับปกติและหมั่นตรวจสอบเสมอ น้ำมันรั่วซึม ส่งผลให้น้ำมันไม่พอในระบบทำให้พวงมาลัยหนัก แก้ไขหาจุดรั่ว เติมน้ำมันพวงมาลัย ตัวปั๊มไฮดรอลิก เสีย แก้ไขตรวจสอบซ่อมแซมภายใน หรือเปลี่ยนใหม่ 2. ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) มอเตอร์ชำรุดพัง ดูได้ที่ไฟเตือนจะเป็นรูปพวงมาลัยบนหน้าปัดไมล์ เข้าศูนย์ ชิ้นส่วนในระบบบังคับเลี้ยว ต่างๆชำรุด ลมอ่อน รถไม่ได้ตั้งศูนย์ ตั้งศูนย์ไม่ดี ก็ทำให้พวงมาลัยหนักได้เช่นกัน   ข้อควรระวังในการใช้ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ อย่าหมุนพวงมาลัยไปทางขวา หรือ ซ้ายสุดค้างไว้นานๆ !!! เนื่องจากจะทำให้น้ำมันเพาเวอร์มีความร้อนและแรงดันสูง จนอาจทำให้ระบบของพวงมาลัยเกิดความเสียหายได้ถ้าหมุนไปจนสุดแล้วก็ควรคืนพวงมาลัยลงมานิดหน่อย เพื่อลดการทำงานของมอเตอร์ หรือแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกในระบบ อย่าพยายามหมุนพวงมาลัยเพื่อปีนข้ามฟุตปาธหรือขอบทาง !!! เพราะทำให้มอเตอร์ทำงานหนักเกิดความร้อนสูงจนมอเตอร์ไหม้ได้ หรือทำให้ท่อน้ำมันเพาเวอร์รั่ว เนื่องจากปั๊มต้องสร้างแรงดันสูงมากกว่าปกติขณะเลี้ยวข้ามสิ่งกีดขวาง วิธีลดความเสี่ยงนั้นควรให้รถได้เคลื่อนที่เล็กน้อยก่อน แล้วค่อยหมุนพวงมาลัยเพื่อช่วยลดความฝืดระหว่างยางกับถนน รวมทั้งช่วยลดการทำงานของระบบเพาเวอร์ อย่างไรก็ดีภายหลังจอดรถเสร็จแล้ว ควรหมุนพวงมาลัยให้ล้อตั้งตรง  Cr:  https://www.dailynews.co.th/article/363448 http://www.toyotanont.com/article_detail.php?article_id=471

FACEBOOK

หมวดหมู่

อ่านบทความย้อนหลัง